Maple Finance (SYRUP) คืออะไร?

2025-05-16

 Maple Finance เป็นตลาดสำหรับการให้กู้ยืมเงินที่สร้างขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยเชื่อมโยงธุรกิจที่ต้องการกู้ยืมเงินเข้ากับนักลงทุนหรือสถาบันที่ต้องการผลตอบแทนจากการให้กู้ยืม โปรเจคเริ่มเปิดตัวในปี 2019 โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้กระบวนการให้กู้เงินง่ายขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้นผ่านการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi)

แตกต่างจากแพลตฟอร์ม DeFi ส่วนใหญ่ที่มักต้องใช้หลักประกันจำนวนมาก Maple Finance อนุญาตให้มีการกู้ยืมแบบมีหลักประกันน้อย (Undercollateralized Loans) โดยอาศัยชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของผู้กู้เป็นหลัก  หรือมุ่งเน้นการปล่อยกู้ที่ไม่ต้องมีหลักประกันมากล่วงหน้า นั่นเอง

Maple Finance ทำงานอย่างไร

        Maple Finance เป็นแพลตฟอร์มการปล่อยกู้บนบล็อกเชนที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ โดยผู้ให้กู้จะนำสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น USDC หรือเหรียญ stablecoin อื่น ๆ ไปรวมไว้ในกองทุนที่เรียกว่า “Liquidity Pools” ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ “Pool Delegates” หรือผู้ดูแลกองทุน

กองทุนเหล่านี้จะถูกนำไปปล่อยกู้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ผ่านกระบวนการที่มีความโปร่งใสและปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยผู้ให้กู้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยจากเงินกู้ระยะสั้นที่มักมีหลักประกันบางส่วน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบได้ผ่าน Maple WebApp โดยไม่จำเป็นต้องถือโทเคนของ Maple (SYRUP) ซึ่งสามารถฝาก-ถอนเงินลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

การกู้เงินผ่าน Maple

        ผู้กู้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทคริปโตหรือสถาบันที่ต้องการเงินทุนแบบยืดหยุ่น โดยสมัครขอสินเชื่อผ่าน Maple WebApp และต้องผ่านการตรวจสอบโดย Pool Delegates เงินกู้มักมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ เป็นแบบระยะสั้น และมีหลักประกันบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยง

ระบบนี้ช่วยให้กระบวนการปล่อยกู้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธนาคารดั้งเดิม และเปิดเผยเงื่อนไขล่วงหน้าได้อย่างโปร่งใส

บทบาทของ Pool Delegates

        Pool Delegates คือหัวใจของการดำเนินงานใน Maple พวกเขาทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงของผู้กู้กำหนดเงื่อนไขเงินกู้ และบริหาร Liquidity Pools คล้ายเจ้าหน้าที่สินเชื่อหรือผู้จัดการความเสี่ยงในระบบการเงินแบบดั้งเดิม

หน้าที่ของ Pool Delegates รวมถึง:

  • การคัดเลือกผู้กู้ที่มีคุณภาพ

  • การกำหนดวงเงินและดอกเบี้ย

  • การจัดการความเสี่ยง เช่น การผิดนัดชำระ การเรียกเงินเพิ่ม (margin call) และการล้างพอร์ตในกรณีฉุกเฉิน

พวกเขาได้รับค่าธรรมเนียมจากการให้บริการ และมักได้รับการคัดเลือกจากความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เครดิต อย่างไรก็ตาม เอกสารของ Maple ระบุว่ามีความท้าทายในการทำให้บทบาทของ Pool Delegates สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นจุดที่ยังต้องมีการปรับปรุงต่อไป

คุณสมบัติเด่นของ Maple Finance

Maple Finance มีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ทำให้โดดเด่นในวงการการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ดังนี้:

  • ใช้หลักประกันน้อยลง: โดยอาศัยชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของผู้กู้ Maple สามารถลดความต้องการในการใช้หลักประกัน ทำให้การระดมทุนของสถาบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มาตรฐานระดับมืออาชีพ: ผสานความรวดเร็วของบล็อกเชนเข้ากับกระบวนการตรวจสอบทางการเงินที่เข้มงวด ซึ่งช่วยดึงดูดนักลงทุนและองค์กรระดับสถาบัน

  • ความโปร่งใสของบล็อกเชน: ทำงานบนเครือข่าย Ethereum และเครือข่ายอื่น ๆ โดยใช้ Smart Contract เพื่อควบคุมกระบวนการให้เป็นแบบอัตโนมัติ โปร่งใส และสามารถติดตามได้แบบเรียลไทม์

  • ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย: เช่น Cash Management Pool ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และ Maple Direct สำหรับการปล่อยกู้แบบกำหนดเงื่อนไขเอง รองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้

  • พันธมิตรเชิงกลยุทธ์: Maple Finance ได้ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เช่น Circle (เพื่อส่งเสริมการใช้งานเหรียญ USDC) และ Ethena Labs (เพื่อขยายการนำสินทรัพย์โลกจริงเข้าสู่บล็อกเชน)

Token Utility ของ SYRUP

การดำเนินงานของ Maple Finance ขับเคลื่อนด้วยโทเคน SYRUP ซึ่งมาแทนโทเคนเดิม MPL ในปี 2023 หลังการลงคะแนนเสียงจากชุมชน ผู้ถือโทเคน SYRUP สามารถ:

  • เข้าร่วมแบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียม (share fee revenues)

  • มีสิทธิออกเสียงในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการแพลตฟอร์ม (governance)

  • นำโทเคนไปวางสเตก (staking) เพื่อช่วยป้องกันกองทุนสภาพคล่องจากการขาดทุน

ความปลอดภัยของ Maple Finance

Maple ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสูง Smart Contract ที่ใช้ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มนี้เป็นแบบ โอเพนซอร์ส ซึ่งมีให้ดูได้ใน GitHub โดยมีมากถึง 76 repositories ที่แสดงรายละเอียดของโค้ด
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยหลายครั้ง ได้แก่ 3 ครั้งในเดือนธันวาคม 2022 และ 2 ครั้งในเดือนมิถุนายน 2023 ช่วยให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขปัญหาก่อนนำมาใช้งานจริง

สิ่งที่ควรระวัง

เช่นเดียวกับโปรเจกต์ DeFi อื่น ๆ การใช้งาน Maple Finance มีความเสี่ยง เช่น:

  • ความผันผวนของตลาดที่อาจทำให้สูญเสียสินทรัพย์

  • ช่องโหว่ใน Smart Contract

  • ความเสี่ยงจากการพึ่งพา Pool Delegates ซึ่งอาจเกิดปัญหาด้านการประสานงานตามที่เอกสารทางการของโครงการได้กล่าวไว้

โทเคโนมิกส์ของ SYRUP

ปัจจุบัน SYRUP ทำหน้าที่เป็นโทเคนหลักของโปรโตคอล Maple โดยมาแทนที่โทเคนเดิม MPL ในการเปลี่ยนผ่าน (migration) มีการเสนอให้ แปลง 1 MPL เป็น 100 SYRUP ซึ่งช่วยให้ผู้ถือ MPL เดิมไม่ถูกลดสัดส่วนการถือครอง (no dilution)

โดย Tokenomics เก่า MPL

อุปทานสูงสุดของโทเคนอยู่ที่ 10,000,000 โทเคน 

โครงสร้างการจัดสรรโทเคน MPL มีรายละเอียดดังนี้:

  • 30% สำหรับ Liquidity Mining (การขุดสภาพคล่อง)

  • 25% สำหรับ Team และ Advisor (นักลงทุนเริ่มต้นและที่ปรึกษา)

  • 26% สำหรับ Seed (นักลงทุนรอบแรก)

  • 5% สำหรับ Public Sale (การขายต่อสาธารณะ)

  • 14% สำหรับ Treasury (คลังของ Maple)

ข้อมูลการจัดสรรใหม่และอัตราเงินเฟ้อของโทเคน

  • จำนวนโทเคน SYRUP ทั้งหมด คาดว่าจะสูงถึง 1.228 พันล้านโทเคน ภายในเดือนกันยายน 2026

  • ตัวเลขนี้สะท้อนถึง อัตราเงินเฟ้อแบบแผนที่วางไว้ 5% ต่อปี

ในการเปลี่ยนผ่านจาก MPL ไปสู่ SYRUP มีการออกโทเคนใหม่ประมาณ 1.15 พันล้าน SYRUP ซึ่งรวมถึงการสร้างอย่างน้อย 1 พันล้านโทเคนในช่วงกระบวนการแปลงโทเคน




สรุป

Maple Finance เป็นแพลตฟอร์มการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ที่ช่วยให้การให้กู้และการกู้เงินของธุรกิจและนักลงทุนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ด้วยการให้กู้แบบใช้หลักประกันน้อย ใช้โทเคน SYRUP สำหรับการบริหารโดยชุมชน และรักษามาตรฐานด้านกฎระเบียบที่เข้มงวด ทำให้แพลตฟอร์มเติบโตอย่างมากในวงการ DeFi

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโซลูชันด้านการเงินระดับสถาบันในโลกของ DeFi Maple Finance ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจซึ่งใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการเชื่อมต่อกับตลาดทุน