Block Explorer คืออะไรและใช้งานอย่างไร

Block Explorer
บทความจากชุมชน - ผู้เขียน: ไม่ระบุชื่อ
หากจะกล่าวสั้นๆ Block Explorer คือเครื่องมือที่ให้การวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับ Network ของบล็อกเชนตั้งแต่วันแรกที่บล็อกถือกำเนิด เราสามารถพูดได้ว่า Block Explorer ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือค้นหาและเป็นเบราว์เซอร์ที่ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกแต่ละบล็อก, Public Address และธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีที่กำหนดได้
Block Explorer บางตัวยังให้สถิติแบบเรียลไทม์และแผนภูมิตลาด เช่นเดียวกับข้อมูลเกี่ยวกับ Mining Pool, ธุรกรรมที่รอดำเนินการ, อัตราแฮชของ Network, รายการ Rich, Validator ของบล็อก, บล็อก Orphan, Hard Fork และอีกมากมาย
ในส่วนของธุรกรรมที่รอดำเนินการ Block Explorer จะมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ที่กำลังรอการยืนยันการบล็อก ยกตัวอย่างเช่น ตลาดแลกเปลี่ยนหลายแห่งให้ ID ธุรกรรมของคำขอฝากหรือถอนแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของ Fund แบบเรียลไทม์ได้
นอกจากนี้ Block Explorer ยังอาจใช้เป็นศูนย์กลางข้อมูลทั่วไปได้อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของบล็อกเชน ตัวอย่างเช่น มีโทเค็น ERC-20 หลายพันรายการที่ทำงานบนบล็อกเชน Ethereum และผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโทเค็นเหล่านั้นได้โดยการตรวจสอบ Smart Contract บน Etherscan หรือ Block Explorer อื่นสำหรับ Ethereum
Block Explorer มีความสำคัญในกระบวนการติดตามสถานะปัจจุบันของ Network คริปโทเคอร์เรนซี เมื่อพูดถึง Binance Chain ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานะปัจจุบันของ BNB บน Binance Chain Explorer รวมถึงธุรกรรมการเผาเหรียญและอุปทานทั้งหมดในปัจจุบันได้
แม้ว่าเราอาจมี Block Explorer หลายตัวในเว็บไซต์เดียว แต่ Explorer แต่ละตัวจะมีความเกี่ยวข้องกับบล็อกเชนที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม Blockchain เดียวกันอาจมี Block Explorer มากกว่าหนึ่งตัว (องค์กรต่างๆ ที่ให้บริการที่คล้ายคลึงกัน) บางบริษัทยังอาจมีบริการ Wallet สำหรับคริปโต พร้อมกับ Block Explorer ด้วย นอกจากนั้น เว็บไซต์หลายแห่งยังมี API สำหรับนักพัฒนาเพื่อใช้ข้อมูลบล็อกเชนในรูปแบบอื่น
วิธีใช้ Bitcoin Blockchain Explorer
วิธีใช้ Bitcoin Blockchain Explorer
ข้อมูลโดยย่อ
ความโปร่งใสต่อสาธารณะเป็นแนวคิดหลักของคริปโทเคอร์เรนซี หนึ่งในข้อดีหลักๆ ของบล็อกเชนก็คือความเท่าเทียม เพราะข้อมูลไม่ได้จำกัดอยู่ที่คนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมเท่านั้น
แล้วโปร่งใสที่ว่านี้โปร่งใสอย่างไร เราจะดูได้ไหมว่าเพื่อนบ้านมี Bitcoin อยู่เท่าไร และจะตรวจสอบยืนยันข้อมูลสาธารณะด้วยตนเองได้อย่างไร เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจในบทความนี้ โปรดทราบว่าเราจะเน้นพูดถึง Bitcoin แต่คุณก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Blockchain Explorer เฉพาะสำหรับ Litecoin, Ethereum, Binance และบล็อกเชนเนทีฟอื่นๆ ด้วย
บทนำ
คุณเคยเจอสถานการณ์ที่รายการชำระเงินหายไป หรือเคยมีคนยืนกรานว่าได้จ่ายเงินให้คุณไปแล้วแต่จริงๆ ยังไม่จ่ายไหม ในระบบการเงินปัจจุบัน สถานการณ์แบบนี้อาจกลายเป็น "คำพูดที่ไม่มีหลักฐาน" หรืออาจต้องมีการตัดสินจากบุคคลที่สาม
บล็อกเชนแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการใช้แนวคิดเรื่องความโปร่งใสต่อสาธารณะ ซึ่งทุกคนสามารถดูข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับบล็อกเชนอย่างเช่น Bitcoin และ Ethereum ข้อมูลทั้งหมดได้รับการออกแบบมาให้แสดงต่อสาธารณะ ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อต้องมีการระบุและยืนยันธุรกรรม (หรือ Tx) และสัญญาได้โดยง่าย
ในคู่มือนี้ เราจะมาดูรูปแบบพื้นฐานของ Bitcoin Block Explorer จากนั้น เราจะมาดูธุรกรรมอันเลื่องชื่อกัน ธุรกรรมที่เป็นต้นกำเนิดของ Bitcoin Pizza Day ในวันที่ 22 พฤษภาคม
Blockchain Explorer คืออะไร
Blockchain Explorer เปรียบเสมือนเครื่องมือค้นหาที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบล็อกเชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์เมื่อต้องการติดตามความคืบหน้าของการชำระเงินที่เจาะจง หรือต้องการตรวจสอบยอดคงเหลือและประวัติของ Address ทุกคนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จะสามารถใช้ Explorer เพื่อดูธุรกรรมทั้งหมดของบล็อกเชนสาธารณะได้
Block Explorer มีกลไกการทำงานอย่างไร
บล็อกเชนทุกบล็อกจะมี Command Line Interface (CLI) เพื่อโต้ตอบกับฐานข้อมูลและดูประวัติของ Network อย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว CLI Explorer ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย นั่นคือเหตุผลที่บล็อกเชนส่วนใหญ่จะต้องมี Explorer ที่มีอินเทอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) เพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบเข้าใจง่ายมากขึ้น
เรามาดู Bitcoin Explorer ที่นิยมใช้กัน: blockchain.com ทางเลือกอื่นสำหรับ BTC ได้แก่ blockchair.com และ blockcypher.com
ที่มา: https://www.blockchain.com/explorer
ในหน้าแรก คุณจะเห็นข้อมูลระดับสูงเกี่ยวกับบล็อกเชน Bitcoin ซึ่งรวมถึงราคา, อัตราแฮชโดยประมาณ, จำนวนธุรกรรมรายวัน และปริมาณธุรกรรม นอกจากนี้เรายังจะเห็นราคาการแมปชาร์ต และขนาดของ Mempool ด้านล่าง เราสามารถติดตามบล็อกและธุรกรรมล่าสุดได้
เรามาดูข้อมูลที่เห็นได้จากที่นี่ให้ละเอียดกันอีกสักหน่อย
ราคา: ฟีดราคา USD ที่รวบรวมจากตลาดหลายแห่ง ในกรณีส่วนใหญ่ ราคาจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการฟีด และไม่ได้บ่งบอกถึงราคา Spot ของตลาดแลกเปลี่ยนใดโดยเฉพาะ
อัตราแฮชโดยประมาณ: ค่าประมาณกำลังประมวลผลที่ Miner ใช้อยู่ในปัจจุบันในการรักษาความปลอดภัยของบล็อกเชน โดยจะเห็นได้ว่าเป็นพร็อกซีเพื่อความปลอดภัยของบล็อกเชน Proof-of-Work (PoW)
ธุรกรรม: จำนวนธุรกรรมที่ไม่ซ้ำที่ยืนยันในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพื่อให้ได้รับการยืนยัน ธุรกรรมจะต้องถูกเพิ่มเข้าในบล็อกที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว (บล็อกที่ขุดสำเร็จ)
ปริมาณธุรกรรม: การวัดมูลค่ารวมของเอาต์พุต (ในหน่วย BTC) ที่ยืนยันบนบล็อกเชนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ตามกลไกของ Bitcoin แล้ว ยอดรวมนี้จะรวมเอาต์พุตที่ยังไม่ได้ใช้ที่ส่งคืนเป็นเงินทอนกลับไปยัง Wallet "ที่ใช้จ่าย" ด้วย
ปริมาณธุรกรรม (โดยประมาณ): ค่าประมาณ (ในหน่วย BTC) ของปริมาณธุรกรรมจริงที่โอนระหว่าง Wallet ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งก็คือปริมาณธุรกรรม (ข้างต้น) ลบด้วยค่าประมาณของเอาต์พุตที่ส่งคืนเป็นเงินทอนไปยัง Wallet ที่ใช้จ่าย
ขนาดของ Mempool: ขนาดของ Mempool จะติดตามขนาดรวม (เป็นไบต์) ของธุรกรรมที่รอเพิ่มเข้าในบล็อก โดยจะเป็นพร็อกซีสำหรับปริมาณกิจกรรมบนบล็อกเชน และอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ค่าธรรมเนียมที่จำเป็นสำหรับการยืนยันอย่างรวดเร็ว
บล็อกล่าสุด: รายการบล็อกที่ได้รับการยืนยันแล้ว โดยเรียงจากใหม่ที่สุดไปเก่าที่สุด ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ เช่น Block Height, ไทม์แสตมป์, ชื่อของ Miner (หากทราบ) และขนาดของบล็อก คุณสามารถคลิกที่ "Block Height" เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่เพิ่มเข้าในบล็อกได้ การคลิกที่ “Miner” จะเผยข้อมูลเกี่ยวกับ Address ของ Miner ของบล็อกนั้น Public Address ของ Miner อาจเป็น Address ของ Mining Pool ที่รู้จัก หากคุณไม่ทราบว่า Mining Pool คืออะไร
ธุรกรรมล่าสุด: รายการธุรกรรมที่ถูกต้องซึ่งส่งไปยัง Mempool ย้ำอีกครั้งว่าธุรกรรมจะไม่ได้รับการยืนยันจนกว่าจะเพิ่มเข้าในบล็อกที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว
มีตัวชี้วัดเพิ่มเติมสำหรับบล็อกเชนที่คุณสามารถติดตามได้ในหน้านี้ รวมถึง Difficulty ของ Network, ค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรม และเวลายืนยันโดยเฉลี่ย Blockchain Explorer บางตัวอาจอนุญาตให้คุณเชื่อมต่อกับ API ได้ด้วย
➟ หากคุณกำลังมองหาช่องทางเริ่มต้นเทรดคริปโทเคอร์เรนซี ซื้อ Bitcoin ได้เลยที่ Binance TH!
วิธีดูธุรกรรม Bitcoin Pizza 10,000 หน่วย
Pizza Day คือวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin เพื่อรำลึกถึงการซื้อพิซซาถาดใหญ่สองถาดโดยแลกกับ 10,000 Bitcoin เมื่อใช้ Block Explorer เราจะสามารถดูและสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมชื่อก้องนี้ได้
แฮชธุรกรรมของ Pizza Day:
a1075db55d416d3ca199f55b6084e2115b9345e16c5cf302fc80e9d5fbf5d48d
เมื่อคัดลอกแฮชธุรกรรมนี้ลงในช่องค้นหาของ Bitcoin Blockchain Explorer จะพาเราไปสู่ธุรกรรม Pizza Day หากคุณไม่ต้องการคัดลอกแล้ววางรายละเอียด นี่คือลิงก์ไปยังหน้าธุรกรรมดังกล่าว
ที่ด้านบนของหน้า คุณจะเห็นสรุปอินพุตและเอาท์พุตของธุรกรรม ทางด้านซ้ายคือ Bitcoin ที่ใช้จ่ายค่าพิซซ่า (รวมทั้งหมด 10,000 BTC) ถูกส่งไปยัง Address เดียวทางด้านขวา (เป็นของคนส่งพิซซ่า)
สรุปธุรกรรม Pizza Day ที่มา: blockchain.com
หากคุณคลิก Receiving Address (Address ผู้รับ) ทางด้านขวา คุณจะเห็นประวัติการทำธุรกรรม คุณยังสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อดูสตริง Address ที่เกี่ยวข้องได้ คิวอาร์โค้ดมีประโยชน์มากเมื่อชำระเงินด้วย TrustWallet หรือ Wallet สำหรับคริปโตอื่นๆ บนมือถือ
Address ผู้รับของ Pizza Day ที่มา: blockchain.com
หากคุณกลับไปที่หน้าธุรกรรม Pizza Day เดิม คุณสามารถเลื่อนลงเพื่อดูรายละเอียดธุรกรรมได้ ซึ่งรวมถึงแฮชที่ไม่ซ้ำกันสำหรับธุรกรรม, สถานะการยืนยัน, ไทม์แสตมป์, จำนวนการยืนยัน, อินพุตและเอาต์พุตทั้งหมด, ค่าธรรมเนียมการขุด และอื่นๆ คุณจะเห็นได้ว่ามีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 0.99 BTC ที่จ่ายให้กับ Miner นอกเหนือจาก 10,000 BTC สำหรับค่าพิซซ่า
รายละเอียดธุรกรรม Pizza Day ที่มา: blockchain.com
เมื่อคลิกที่ Block Height (57,043) จะเห็นรายละเอียดเกี่ยวกับบล็อกที่เพิ่มธุรกรรมนี้เข้าไป
บล็อกของ Pizza Day ที่มา: blockchain.com
อย่างที่คุณเห็น บล็อกที่ยืนยันธุรกรรม Pizza Day เป็นบล็อกที่ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ โดยมีธุรกรรมทั้งหมดสองรายการ รายการหนึ่งเป็นธุรกรรม Pizza Day และอีกรายการเป็น Block Reward ของ Miner
ลูกโลกสีเขียวและสีแดงทางด้านขวาระบุว่ามีการใช้จ่าย Bitcoin หรือไม่หลังจากธุรกรรมนี้ คนที่ขายพิซซ่าได้ส่ง 10,000 BTC ไป Address อื่นแล้ว แต่ Address ของ Miner ยังมี Block Reward (50.99 BTC) อยู่
ข้อคิดส่งท้าย
Blockchain Explorer เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับควบคุมความเปิดกว้างและความโปร่งใสของบล็อกเชนสาธารณะ โดยจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสถานะของ Network รวมถึงประวัติธุรกรรมและ Address ซึ่งจะช่วยให้ติดตามและตรวจสอบได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม การเน้นที่ความโปร่งใสต่อสาธารณะอย่างสมบูรณ์นี้สามารถนำไปสู่การแมปประวัติการทำธุรกรรมและ Address ที่เรียกว่าการวิเคราะห์เชนได้ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจเป็นการเปิดเผย Address ที่มีลักษณะเป็นนามแฝงได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่มักจะใช้ Address เดิมๆ (ไม่แนะนำ) บล็อกเชนสาธารณะอื่นๆ (เช่น Monero) ควบคุมความโปร่งใสและความเป็นส่วนตัวในลักษณะที่ต่างออกไป
ตอนนี้คุณก็เข้าใจไกไลการทำงานของ Blockchain Explorer คร่าวๆ แล้ว ลองไปใช้งานดูเลย คุณอาจแปลกใจกับความลับที่คุณค้นพบ!